วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทความเกี่ยวกับบุคคละดับโลก

 ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง เกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น ยังคงเป็นความลับทางธรรมชาติอยู่จนกระทั่งเบนจามิน แฟรงคลิน ได้ค้นพบสาเหตุที่ทำให้เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และวิธีป้องกันความเสียหายที่เกิดจากฟ้าผ่า โดยการประดิษฐ์สายล่อฟ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรกเขาจึงทำการทดลองครั้งแรก โดยใช้ว่าวที่ทำด้วยผ้าแพรแทนกระดาษ อีกทั้งมีเหล็กแหลมติดอยู่ที่ตัวว่าว ส่วนปลายสายป่านเขาได้ผูกลูกกุญแจเอาไว้ และผูกริบบิ้นไว้กับสายป่านอีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้น
ว่าวของแฟรงคลินก็จะเป็นตัวนำไฟฟ้า แฟรงคลินได้นำว่าวขึ้นในขณะที่มีฝนตกฟ้าคะนอง เมื่อฝนตกและทำให้สายป่านเปียก ผลปรากฏว่ามีประจุไฟฟ้าไหลลงมาทางเชือกเข้าสู่ลูกกุญแจ แต่แฟรงคลินไม่ได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้านั้น เนื่องมาจากเขาจับ
ริบบิ้นซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้า จากนั้นเขาจึงลองใช้เศษหญ้าแห้งจ่อเข้ากับลูกกุญแจ ปรากฏว่าเกิดประจุไฟฟ้าไหลเข้าสู่มือเขา จากนั้น
เขาก็นำลูกกุญแจวางลงพื้นดิน ก็เกิดประกายไฟฟ้าขึ้นอีก จากนั้นเขาจึงนำขวดเลเดน มาต่อเข้ากับกุญแจ ปรากฏว่าประจุไฟฟ้า
ไหลลงมาในขวด จากผลการทดลองแฟรงคลินสามารถสรุปถึงสาเหตุของการเกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า ว่าเกิดขึ้นจากประจุ
ไฟฟ้าบนท้องฟ้า ซึ่งเกิดจากการเสียดสีระหว่างก้อนเมฆกับอากาศ ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต  จากการค้นพบประจุไฟฟ้าในอากาศครั้งนี้ นำไปสู่ความคิดในการประดิษฐ์สายล่อฟ้า เพื่อระบายประจุไฟฟ้าในอากาศไม่ทำให้เกิดความเสียหายจากฟ้าผ่า  แฟรงคลินได้ประดิษฐ์สายล่อฟ้าขึ้นสำเร็จเป็นครั้งแรก สายล่อฟ้าของแฟรงคลินมีลักษณะเป็นโลหะปลายแหลมผูกติดไว้บนยอดอาคารสูง ส่วนปลายโลหะเชื่อมต่อกับสายไฟยาวลงไปในแนวดิ่ง ห้ามคดหรืองอเด็ดขาด มิฉะนั้นอาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ ปลายของสายไฟจะถูกฝังลึกลงในพื้นดินพอสมควร ซึ่งบริเวณด้านล่างของหลุมนี้จะมี
แผ่นโลหะขนาดใหญ่ปูเอาไว้ เพื่อให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลลงมานั้นกระจายออกไปบนแผ่นโลหะนี้ สายล่อฟ้าของแฟรงคลินถือว่า
เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการป้องกันความเสียหายของอาคารสูง ที่มักจะถูกฟ้าผ่าได้ง่าย อีกทั้งผู้คนที่เดินไปมา
ตามท้องถนนไม่ให้ถูกฟ้าผ่าจนถึงแก่ชีวิตได้ การค้นพบครั้งนี้ยังทำให้แฟรงคลินได้ทราบเพิ่มเติมว่าประจุไฟฟ้ามี 2 ชนิด คือ
ประจุไฟฟ้าบวก และประจุไฟฟ้าลบ